การนำเข้าสู่บทเรียน

ความหมาย
การนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง การเตรียมตัวนักเรียนก่อนเริ่มเรียน และก่อนที่ครูจะสอนเนื้อหาทุกวิชา เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้รู้ว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูกำลังจะสอนได้ ซึ่งทำได้โดยการหากิจกรรมที่เร้าความสนใจของนักเรียนแล้วเชื่อมโยงไปสู่บทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการนำเข้าสู่บทเรียน
กิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียนมีวัตถุประสงค์ เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียน หรือดึงดูดความสนใจของนักเรียนมาอยู่ที่การสอนของครู และเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีสมาธิ ในการฟังเรื่องที่ครูจะสอนนักเรียนรู้ว่าต่อไปจะเรียนเรื่องอะไร และสามารถนำเอาความรู้และทักษะเดิมที่มีอยู่มาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ ซึ่งทำให้นักเรียนเห็นแนวทางในการเรียนรู้ และจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการนำเข้าสู่บทเรียน
เฉลิม มลิลา (2526: 12) กล่าวถึงคุณค่าและประโยชน์ของการนำเข้าสู่บทเรียน ดังนี้
1. ช่วยให้นักเรียนเกิดความพร้อมในการเรียนรู้
2. ช่วยนักเรียนให้สามารถเรียนรู้ประสบการณ์ได้อย่างมีความหมาย และโดยง่ายยิ่งขึ้น
3. ช่วยกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความสนใจ ใฝ่รู้ และเรียนด้วยความสนุกสนาน
4. เป็นการปูพื้นฐานความรู้ ความคิด และแนวทางการประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน
ประสบการณ์ใหม่ระหว่างครูและนักเรียนในเบื้องต้น
5. เป็นสื่อเชื่อมโยงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักศึกษาครูก่อนดำเนินการสอนในขั้นต่อไป
6. ช่วยให้นักเรียนเกิดมโนทัศน์ (Concepts) ที่ดีและถูกต้อง
มีความหมาย
8. ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำกิจกรรม และการมีสุขภาพจิตที่
ดีของทั้งนักเรียนและครู
9. ช่วยทำให้นักเรียนสามารถทำความเข้าใจบทเรียนได้ดีและรวดเร็วขึ้น
10. ช่วยพัฒนาทัศนคติในการเรียนที่ดีให้กับนักเรียน
11. เป็นช่องทางช่วยผ่อนแรงในการสอนของครู ให้สามารถกระทำได้โดยง่าย รวดเร็วและได้ผลดี
สมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
12. ผลสะท้อนกลับ (Feedback) จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน นับเป็นปัจจัยที่ช่วยใน
การ
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
สรุปได้ว่า นอกจากการนำเข้าสู่บทเรียนในตอนเริ่มสอนแต่ละคาบหรือชั่วโมงแล้วในการเริ่มหัวข้อใหม่หรือเริ่มกิจกรรมใหม่ระหว่างคาบหรือชั่วโมง ครูก็ควรเตรียมความพร้อมของนักเรียนด้วยกิจกรรมต่างๆ ก่อนเริ่มหัวข้อใหม่หรือกิจกรรมใหม่นั้นด้วย กิจกรรมนั้นอาจจะเป็นการเล่าเรื่อง การใช้คำถาม หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสม ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักเรียนสามารถตามทันเนื้อหาและสามารถเรียนรู้ได้ดี
บทสรุป
การนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง การเตรียมตัวนักเรียนก่อนเริ่มเรียน และก่อนที่ครูจะสอนเนื้อหาทุกวิชา เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้รู้ว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูกำลังจะสอนได้ ซึ่งทำได้โดยการหากิจกรรมที่เร้าความสนใจของนักเรียนแล้วเชื่อมโยงไปสู่บทเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
กิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียนมีวัตถุประสงค์ เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียน หรือดึงดูดความสนใจของนักเรียนมาอยู่ที่การสอนของครู และเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีสมาธิในการฟังเรื่องที่ครูจะสอน นักเรียนรู้ว่าต่อไปจะเรียนเรื่องอะไร และสามารถนำเอาความรู้และทักษะเดิมที่มีอยู่มาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ ซึ่งทำให้นักเรียนเห็นแนวทางในการเรียนรู้ และจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนใหม่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
การนำเข้าสู่บทเรียนมีประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นเทคนิควิธีการที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความพร้อมเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นสื่อเชื่อมโยงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและนักเรียนก่อนดำเนินการสอนในขั้นต่อไป และช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมกับเรื่องที่จะเรียนต่อไปได้
นอกจากการนำเข้าสู่บทเรียนในตอนเริ่มสอนแต่ละคาบหรือชั่วโมงแล้วในการเริ่มหัวข้อใหม่หรือเริ่มกิจกรรมใหม่ระหว่างคาบหรือชั่วโมง ครูก็ควรเตรียมความพร้อมของนักเรียนด้วยกิจกรรมต่างๆ ก่อนเริ่มหัวข้อใหม่หรือกิจกรรมใหม่นั้นด้วย กิจกรรมนั้นอาจจะเป็นการเล่าเรื่อง การใช้คำถาม หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสม ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักเรียนสามารถตามทันเนื้อหาและสามารถเรียนรู้ได้ดี
กิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูควรใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนนั้นมีหลากหลายกิจกรรมและรูปแบบ ซึ่งอาจจะเป็นเพลง เกม หรือคำถาม ครูต้องเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สภาพแวดล้อม โดยเฉพาะบทเรียนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้มีขึ้นในลำดับต่อมา และกิจกรรมที่เลือกนั้นต้องสามารถเร้าความสนใจ และเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่จะเรียนเนื้อหาสาระสำคัญได้ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี บรรลุผลตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของการสอนในแต่ละครั้ง
ในการจัดกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน ครูควรปฏิบัติในสิ่งต่างๆ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1)ครูควรรู้ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมของนักเรียนเพื่อโยงให้สัมพันธ์กับกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนและเนื้อสาระบท
เรียนใหม่
2)ศึกษาเรื่องที่จะสอน แล้วพิจารณาเลือกกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนให้ผสมกลมกลืนกัน และ
3)ศึกษากิจกรรมที่จะนำมาใช้ และฝึกฝนหรือเตรียมความพร้อม ให้เกิดทักษะความชำนาญและความมั่นใจที่จะนำ
เสนอ ปรับปรุงทักษะ และวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนของครูในครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1)ครูควรรู้ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมของนักเรียนเพื่อโยงให้สัมพันธ์กับกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนและเนื้อสาระบท
เรียนใหม่
2)ศึกษาเรื่องที่จะสอน แล้วพิจารณาเลือกกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนให้ผสมกลมกลืนกัน และ
3)ศึกษากิจกรรมที่จะนำมาใช้ และฝึกฝนหรือเตรียมความพร้อม ให้เกิดทักษะความชำนาญและความมั่นใจที่จะนำ
เสนอ ปรับปรุงทักษะ และวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนของครูในครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น